วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญของภาษาอังกฤษและธุรกิจ

ความสำคัญของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ในภาวะปัจจุบันที่อิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นการเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่นย่อมได้เปรียบในการทำกิจการต่างๆ เพราะคงไม่มีใครจะติดต่อสื่อสารและรู้เรื่องได้ดีเท่ากับการพูดภาษาเดียวกัน เคยมีเรื่องเล่ากันเล่นว่าประเทศไทยที่ค้าขายสิงคโปร์ มาเลย์ ฮ่องกง ใต้หวัน ไม่ได้ก็เพราะว่ามาติดต่อกับประเทศไทยแล้วสื่อสารกันยังไม่ชัดเจนจึงต้องผ่านตัวแทนที่รู้ภาษาดีกว่าเช่นสิงค์โป มาเลย์ ฮ่องกง ใต้หวัน หรือแม้แต่ฟิลิบปินก็ตาม  ซึ่งเราจะเห็นว่าประเทศเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่อาจคิดได้ว่าเป็นภาษาสากล หลายประเทศประกาศให้เป็นภาษาราชการอีกภาษาหนึ่ง นอกจากภาษาของตัวเอง แน่นอนว่าประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้นย่อมทราบดีว่า คนจะเรียนรู้ภาษาให้ซาบซึ้งสามารถใช้ภาษาเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรม สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมตามสถานการณ์ได้ในทุกทักษะของภาษา  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดีจะมีโอกาสในการจ้างงาน และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในงานในหน้าที่ให้ยิ่งขึ้นไป  มากกว่าผู้ที่ไม่มีทักษะทางภาษาเลย  ดังตัวอย่างที่หน่วยงานห้างร้านบริษัท ที่ประกาศรับพนังงาน แต่แนบท้ายด้วยคำว่ามีความสามารถทางภาษาที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ นั่นก็คือต้องมีทักษะการฟังและการพูดเป็นอย่างน้อย อันเนื่องจากภาษาอังกฤษมีการใช้กันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่นๆ มีการเรียนการสอนกันทั่วโลกมากกว่าภาษาอื่นจึงคิดให้เป็นภาษาสากลที่ติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก การเรียนการสอนภาษาอังกฤษประการแรกน่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ เช่นเดียวกับการที่เราเรียนรู้ภาษาแรกจากพ่อแม่ พี่เลี้ยง เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องท่องศัพท์ แปล หรือ รู้หลักไวยากรณ์ ดังนั้นการเรียนการสอนในระดับเริ่มเรียนรู้ภาษานั้น คงต้องเน้นการมีส่วนร่วมทางภาษาให้มากที่สุด คือผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการฟังและพูดอย่างเป็นธรรมชาติจนเกิดทักษะ เริ่มจากการพูดในชีวิตประจำวันในครอบครัว แล้วค่อยขยายออกไปสู่โลกภายนอกมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นสูงขึ้น   การสอนทักษะการพูดและการฟังจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และผู้สอนอันเป็นต้นแบบจะต้องพัฒนาความรู้ทางภาษาให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาให้มากที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะเข้าลักษณะแม่ปูสอนลูกให้เดินให้ตรง ในเรื่องนี้ปัจจุบันแม้จะแก้ได้บ้างโดยอาศัยเทคโนโลยี ที่บันทึกเสียงการพูดคุย การออกเสียงที่ถูกต้องไว้ แล้วก็ตาม แต่การแสดงความรู้สึก แสดงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องนั้นก็ยังต้องใช้เจ้าของภาษามาเป็นผู้สอนถึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาได้เร็ว การสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ จะสื่อสารกันได้อย่างน้อยที่สุดก็ต้องฟังรู้เรื่องก่อนแล้วจึงจะทำให้สามารถพูดโต้ตอบได้ หรือพูดได้ พูดเป็น หรือใช้เป็น และเป็นประโยชน์  นอกจากการโต้ตอบแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันก็คงรวมไปถึงการเล่าเรื่อง บรรยาย แสดงความคิด ความเห็น ความรู้สึก วิพากษ์วิจารณ์ ซึงก็ต้องมีการประเมินที่ได้ยินได้ฟังมา จากการวิเคราะห์สังเคราะห์อีกทีหนึ่ง จึงถือว่าสุดยอดในการเรียนรู้ทางภาษา และจากที่ประเทศเรากำลังประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ตากเศรษฐกิจกระแสโลก และวิกฤติการเมือง กาเรียนรู้ภาษาให้แตกฉานก็เป็นการช่วยบรรเทาภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนี้ได้ อันเนื่องมาจากที่รัฐบาลประกาศให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ การเข้าใจเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจะทำให้การติดต่อสื่อสารกับชาวต่างประเทศที่จะเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจให้เข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น สถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ น่าจะมีส่วนส่งเสริม ช่วยเหลือประเทศในแง่นี้ได้

ความสำคัญของธุรกิจ
 มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่เหมือนกันอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทแรก
เป็นความต้องการที่จำเป็นขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต (Needs) ได้แก่ปัจจัย 4 คือ อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ส่วนความต้องการอีกประเภทหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่
มนุษย์อยากมี (Wants) แต่ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ มนุษย์ก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ตัวอย่าง
เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจจึงมีความสำคัญต่อการ
ดำเนินธุรกิจของมนุษย์ เพราะธุรกิจเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทั้ง 2 ประเภทดังที่กล่าวมาแล้ว
 สินค้าคือสิ่งของที่มีตัวตน สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่น รถยนต์ อาหาร
เสื้อผ้า เป็นต้น ตัวอย่างของธุรกิจที่เป็นแหล่งผลิตสินค้า เช่นโรงงานผลิตรถยนต์ โรงงานผลิตเสื้อผ้า เป็นต้น สำหรับการให้บริการนั้น หมายถึง สิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่สามารถกำหนดราคาเพื่อซื้อขายกันได้ ตัวอย่างเช่น  การให้บริการของสถานเริงรมย์ บริการเสริมสวย บริการซักรีด บริการขนส่ง บริการด้านการ  สื่อสารของสถานที่ให้บริการเฉพาะนั้น ๆ เป็นต้น

ธุรกิจ

ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจ (Business
) 
หมายถึงกระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์เป็นระบบและอย่างต่อเนื่องในด้านการผลิตการซื้อขายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสินค้าและบริการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้กำไรหรือผลตอบแทนจากกิจกรรมนั้น  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า กิจกรรมใดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้กำไร (Profit)ถือว่าเป็นธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างร้าน ตลอดจนรัฐวิสาหกิจต่าง ๆการดำเนินของรัฐ เช่น การป้องกันประเทศ การสร้างถนนหนทาง โรงเรียนโรงพยาบาล และอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจเพราะมิได้มีจุดมุ่งหมายด้านกำไรแต่เป็นการให้บริการแก่ประชาชนโดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ความสำคัญของธุรกิจ
1. ธุรกิจช่วยให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง 
2. ธุรกิจทำให้ประชาชนมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น 
3. ธุรกิจทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น 
4. ธุรกิจช่วยแก้ปัญหาทางสังคม 
5. ธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
หน้าที่และความรับผิดชอบของธุรกิจ 
หน้าที่ของธุรกิจ 
1. การผลิตสินค้า ธุรกิจอาจเลือกผลิตสินค้าหลายชนิด เช่น ผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป 
2. การให้บริการ เป็นธุรกิจที่อำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภค 
3. การจำแนกแจกจ่ายสินค้า ธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขาย 
4. การจัดซื้อ ธุรกิจจำเป็นต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อการดำเนินการ 
5. การเก็บรักษาสินค้า ธุรกิจจะต้องเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพื่อบริการให้แก่ลูกค้า 
6. การจัดจำหน่าย ธุรกิจมีหน้าที่จัดแสดงสินค้าเพื่อง่ายต่อการซื้อ 
7. การจัดการทางการเงิน ธุรกิจมีหน้าที่จัดหาเงินทุนและบริหารเงินทุนที่มีจำนวนจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
8. การจัดทำบัญชี ธุรกิจมีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อเสียภาษี 
9. การทำการโฆษณาสินค้า ธุรกิจมีหน้าที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้า และเกิดการตัดสินใจซื้อในที่สุด
ความรับผิดชอบของธุรกิจ 
ธุรกิจมีฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อบุคคล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 
1. ความรับผิดชอบต่อเจ้าของกิจการ ดำเนินธุรกิจให้เกิดกำไรสูงสุด 
2. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า การให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด 
3. ความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐ 
4. ความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง ในด้านสวัสดิการของลูกจ้าง 
5. ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้สังคมได้รับประโยชน์ตามสมควร
จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจ 
จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจคือ ต้องการให้ได้กำไรมากที่สุด (Maximized Profit) ซึ่งต่างจากการดำเนินงานของหน่วยราชการและองค์การกุศลซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการให้บริการแก่ประชาชน โดยไม่หวังผลตอบแทน
ความหมายการประกอบธุรกิจและรูปแบบขององค์กรธุรกิจ
ความหมายของการประกอบธุรกิจ 
การประกอบธุรกิจ(Business Activities) หมายรวมถึงกระบวนการประกอบการผลิตกระบวนการประกอบการจำหน่ายกระบวนการประกอบการบริหาร เพื่อให้ได้ถึงมือผู้บริโภค
รูปแบบขององค์กรธุรกิจ 
รูปแบบขององค์กรธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในวงการธุรกิจของประเทศไทย จำแนกรูปแบบไดังต่อไปนี้ 
1. กิจการเจ้าของคนเดียว 
2. ห้างหุ้นส่วน แยกออกเป็น 
2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ 
2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. บริษัทจำกัด
4. การสหกรณ์ แบ่งเป็น 6 ประเภท 
4.1 สหกรณ์การเกษตร 
4.2 สหกรณ์ประมง 
4.3 สหกรณ์นิคม 
4.4 สหกรณ์ร้านค้า 
4.5 สหกรณ์ออมทรัพย์ 
4.6 สหกรณ์บริการ
5. รัฐวิสาหกิจ
http://www.raidaidd.com/forums/viewthread.php?tid=423

คุณลักษณะของนักธุรกิจหรือบุคลิกภาพของนักธุรกิจ หมายถึง ลักษณะท่าทาง หน้าตา การแต่งกาย การวางตัว ความเฉลียวฉลาดและไหวพริบในการดำเนินกิจการของนักธุรกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดความศรัทธาและน่าเชื่อถือแก่ผู้ที่พบเห็นหรือผู้ที่ติดต่อค้าขายด้วย โดยนักธุรกิจที่จะสามารถประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการได้นั้นควรมีคุณลักษณะต่อไปนี้คือ
  1. มีการแต่งกายที่สุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับเวลาและโอกาส
  2. มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
  3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจอย่างมีเหตุผล โดยไม่หวั่นกลัวต่อการประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการ
  4. เป็นผู้มีไหวพริบดี สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้โดยมีความเสียหายน้อยที่สุด และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา
  5. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี เพื่ออำนวยประโยชน์ในด้านการสื่อสารและติดต่อค้าขาย
  6. เป็นผู้มองการณ์ไกล หมั่นศึกษาและหาประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติมอยู่เสมอ
  7. มีความอดทน มุมานะในการทำงาน และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้
  8. มีความซื่อสัตย์ในการให้บริการ หรือผลิตสินค้าให้อยู่ในมาตรฐานที่ตั้งไว้ ไม่ปลอมแปลง ปลอมปน หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไม่มดีในการผลิตสินค้าหรือให้บริการเพื่อหวังผลประโยชน์
  9. มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า คู่ค้า พนักงานในองค์กร และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีความเมตตากรุณา การต้อนรับยินดี และรู้จักการเสียสละ โดยมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
              1. มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการใช้สินค้าหรือบริการของลูกค้าและคู่ค้า ยินดีที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเห็นแก่ความถูกต้องยุติธรรมเป็นสำคัญ
               2. ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กฎหมายแรงงาน และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด โดยลดการเอารัดเอาเปรียบคนงานและผู้บริโภค จ่ายค่าแรงงานและสวัสดิการในการบริโภคตามที่กฎหมายกำหนด
               3. สร้างงานที่มีการจ้างแรงงานสูง เช่น งานก่อสร้าง งานการเกษตร และงานให้บริการต่าง ๆ แม้ว่างานเหล่านี้ในแง่ธุรกิจอาจให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก แต่ก็เป็นการช่วยสังคมให้มีอัตราการว่างงานน้อยลง
               4. กำหนดราคาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสม ไม่ควรกำหนดราคาสูงไปเพื่อหวังผลกำไรหรือไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่เกิดเภทภัยต่าง ๆ
                5. ป้องกันมลภาวะเป็นพิษทางด้านน้ำ อากาศและเสียงจากธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมีระบบการกำจัดหรือควบคุมให้ถูกต้องและเหมาะสม
              6. ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษา ทั้งสถาบันของรัฐและเอกชนตามสมควรซึ่งทำได้โดยให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ฝึกงานแก่นักเรียนนักศึกษา หรือเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิไปบรรยายให้นักศึกษาฟังในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
              7. ให้ความร่วมมือในด้านสุขภาพอนามัย ทั้งของพนักงานในสังกัดและบุคคลทั่วไปตามโอกาสอันสมควร ตลอดจนสนับสนุนด้านสันทนาการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือชาวบ้าน กิจกรรมการกุศล เป็นต้น
 อุดมการณ์ซึ่งนักธุรกิจพึงมี ได้แก่
            1. หมั่นประกอบการดี และประพฤติตนเป็นคนดี
            2. มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับประโยชน์ของคนทั่วไป
            3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
           4. ดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและยึดถือปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
    5. ละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แต่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ โดยคำนึงถึงข้อปฏิบัติของการจัดการที่ดี
      6. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติต่อบุคคลอื่น ต้องตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเสมอภาคของกลุ่มและบุคคล

จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจ
 
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้เกิดกิจกรรมร่วมกันของคนในสังคม โดยมีนักธุรกิจเป็นกลไกในการเชื่อมโยง ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและศรัทธาในวิชาชีพของตน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนร่วมอาชีพ อันส่งผลให้เกิดการยอมรับจากคนทั่วไปในสังคม และสามารถทำให้ธุรกิจดำรงอยู่ได้และเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งจรรยาบรรณของธุรกิจคือ หลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจยึดเป็นแนวทางการประพฤติในการดำเนินอาชีพ โดยกำหนดตามบทบาทหลักดังนี้
               1.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อลูกค้า
               2.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อผลิตภัณฑ์
               3.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อคู่แข่งขัน
               4.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อส่วนราชการ
               5.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อพนักงาน
               6.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อสังคม
               7.  จรรยาบรรณของพนักงานต่อผู้ประกอบธุรกิจ





ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษ (English language) เป็นภาษาตระกูลเจอร์เมนิกตะวันตก มีต้นตระกูลมาจากอังกฤษ เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 (พ.ศ. 2545: 402 ล้านคน) ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลาง (lingua franca) เนื่องจากอิทธิพลทางทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะว่าภาษาอังกฤษนั้นได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ ซึ่งบางอาชีพต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมาช่วยประสานงาน ทำให้งานทุกอย่างนั้นง่ายราบรื่นและสำเร็จลงไปได้ด้วยดี
การกระจายทางภูมิศาสตร์
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองลงมาจากภาษาจีน ภาษาฮินดี และใกล้เคียงกับภาษาสเปน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกในประเทศต่างๆ ต่อไปนี้ ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์บาดอส เบอร์มิวดา ยิบรอลตาร์ กายอานา จาไมกา นิวซีแลนด์ แอนติกาและบาร์บูดา เซนต์คิตส์และเนวิส ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาอื่นๆ ใน เบลีซ (ร่วมกับภาษาสเปน) แคนาดา (ร่วมกับภาษาฝรั่งเศส) โดมินิกา เซนต์ลูเซียและเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ร่วมกับภาษาครีโอลฝรั่งเศส) ไอร์แลนด์ (ร่วมกับภาษาไอริช) สิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษามาเลย์ ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษาเอเชียอื่นๆ) และแอฟริกาใต้ (ซึ่ง ภาษาซูลู ภาษาโคซา ภาษาแอฟริคานส์ และ ภาษาโซโทเหนือ คนพูดมากกว่า) และเป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการที่ใช้กันมากที่สุดในอิสราเอล ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นในแคเมอรูน ฟิจิ ไมโครนีเซีย กานา แกมเบีย ฮ่องกง (จีน) อินเดีย คิริบาส เลโซโท ไลบีเรีย เคนยา ประเทศนามิเบีย ไนจีเรีย มอลตา หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน ซามัว เซียร์ราลีโอน สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย และซิมบับเว
เสียงสูงต่ำ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในลักษณะ ภาษา intonation ซึ่งหมายถึงการใช้เสียงสูงต่ำขึ้นอยู่กับประโยคที่ใช้ ต่างกับภาษาไทยที่ใช้วรรณยุกต์เป็นตัวกำกับของเสียงสูงต่ำ ประโยคในรูปแบบต่างกัน จะใช้เสียงสูงต่ำแตกต่างกัน เช่นประโยคแสดงความตกใจ ประโยคคำถาม ประโยคสนทนา การขึ้นเสียงสูง และลงเสียงต่ำยังคงสามารถบอกได้ถึงความหมายของประโยค ตัวอย่างเช่น
When do you want to be paid? (คุณต้องการชำระเงินเมื่อไร)
การเน้นเสียง
การเน้นเสียงในคำ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในลักษณะ ภาษา stress-timed ซึ่งจะมีการเน้นเสียงที่คำคำหนึ่งโดยการเน้นให้เสียงดังขึ้นหรือเสียงสูงขึ้น ในดิกชันนารี จะนิยมเขียนเครื่องหมายอะพอสทรอฟี ( ˈ ) ไว้ด้านหน้า (เช่น IPA หรือ พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด) หรือเขียนไว้ด้านหลัง (พจนานุกรมเว็บสเตอร์) โดยทั่วไป คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มี 2 พยางค์ สามารถกล่าวได้ว่า ถ้าเน้นเสียงที่พยางค์แรก คำนั้นส่วนใหญ่จะเป็น คำนาม หรือ คำคุณศัพท์ และถ้าเน้นเสียงที่พยางค์ที่ 2 คำนั้นส่วนใหญ่จะเป็น คำกริยา
การเน้นเสียงในประโยค
การเน้นเสียงในประโยคใช้ในการบอกความสำคัญของประโยค โดยประโยคทั่วไปจะเน้นเสียงที่คำหลักที่มีความหมายเฉพาะ โดยจะไม่เน้นเสียงที่ คำสรรพนาม และกริยาช่วย โดยประโยคทั่วไป
That | was | the | best | thing | you | could | have | done!
จะเห็นได้ว่ามีการเน้นเสียงที่คำว่า "best" และ "done" โดยคำอื่นที่เหลือจะไม่มีการเน้นเสียง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการเน้นที่คำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ การเน้นเสียงจะเปลี่ยนไป เช่น
John hadn't stolen that money. (จอห์นไม่ได้ขโมยเงินไป)
จะเน้นเสียงได้หลายแบบ เพื่อแสดงหลายความหมายโดยนัยของประโยค เช่น
John hadn't stolen that money. (... คนอื่นเป็นคนขโมย)
John hadn't stolen that money. (... คุณบอกว่าเขาทำ แต่เขาไม่ได้ทำ
คำศัพท์
คำศัพท์ส่วนมากในภาษาอังกฤษจะมีรากศัพท์จากภาษาเจอร์เมนิกและภาษาละติน โดยคำจากเจอร์เมนิกจะเป็นศัพท์ที่สั้นและเป็นศัพท์ในชีวิตประจำวัน และคำศัพท์อังกฤษที่รากศัพท์มาจากละติน จะถือว่าเป็นคำศัพท์ของคนชั้นสูงและมีการศึกษาในสมัยก่อน ในปัจจุบันผู้ใช้ภาษาอังกฤษสามารถเลือกใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันเช่น "come" (เจอร์เมนิก) "arrive" (ละติน) ; freedom (เจอร์เมนิก) "liberty" (ละติน) ; oversee (เยอร์มานิก) "supervise" (ละติน) "survey" (ฝรั่งเศสที่มาจากละติน)
นอกจากนี้ในชื่อสัตว์และเนื้อสัตว์จะใช้ศัพท์แยกจากกัน โดยตัวสัตว์จะใช้ศัพท์จากเจอร์เมนิกเป็นคำศัพท์จากชนชั้นล่างในอังกฤษ ขณะที่เนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารใช้ศัพท์จากภาษาฝรั่งเศสที่มีรากศัพท์ละตินซึ่งเกิดจากคำศัพท์ผู้บริโภคชั้นสูง เช่น "cow" และ "beef"; "pig" และ "pork"
ในปัจจุบันได้มีคำศัพท์ใหม่จากภาษาอื่นเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษ หลายภาษารวมถึงฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น และภาษาต่างๆ ตัวอย่างคำเช่น creme brulee, cafe, fiance, amigo, karaoke

ยินดีต้อนรับ



ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blogger ของ ปานวดี เสียศรี  blog นี้สร้างขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน