วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษ (English language) เป็นภาษาตระกูลเจอร์เมนิกตะวันตก มีต้นตระกูลมาจากอังกฤษ เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 (พ.ศ. 2545: 402 ล้านคน) ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลาง (lingua franca) เนื่องจากอิทธิพลทางทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะว่าภาษาอังกฤษนั้นได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ ซึ่งบางอาชีพต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมาช่วยประสานงาน ทำให้งานทุกอย่างนั้นง่ายราบรื่นและสำเร็จลงไปได้ด้วยดี
การกระจายทางภูมิศาสตร์
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองลงมาจากภาษาจีน ภาษาฮินดี และใกล้เคียงกับภาษาสเปน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกในประเทศต่างๆ ต่อไปนี้ ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์บาดอส เบอร์มิวดา ยิบรอลตาร์ กายอานา จาไมกา นิวซีแลนด์ แอนติกาและบาร์บูดา เซนต์คิตส์และเนวิส ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาอื่นๆ ใน เบลีซ (ร่วมกับภาษาสเปน) แคนาดา (ร่วมกับภาษาฝรั่งเศส) โดมินิกา เซนต์ลูเซียและเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ร่วมกับภาษาครีโอลฝรั่งเศส) ไอร์แลนด์ (ร่วมกับภาษาไอริช) สิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษามาเลย์ ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษาเอเชียอื่นๆ) และแอฟริกาใต้ (ซึ่ง ภาษาซูลู ภาษาโคซา ภาษาแอฟริคานส์ และ ภาษาโซโทเหนือ คนพูดมากกว่า) และเป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการที่ใช้กันมากที่สุดในอิสราเอล ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการที่ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่นในแคเมอรูน ฟิจิ ไมโครนีเซีย กานา แกมเบีย ฮ่องกง (จีน) อินเดีย คิริบาส เลโซโท ไลบีเรีย เคนยา ประเทศนามิเบีย ไนจีเรีย มอลตา หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน ซามัว เซียร์ราลีโอน สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย แซมเบีย และซิมบับเว
เสียงสูงต่ำ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในลักษณะ ภาษา intonation ซึ่งหมายถึงการใช้เสียงสูงต่ำขึ้นอยู่กับประโยคที่ใช้ ต่างกับภาษาไทยที่ใช้วรรณยุกต์เป็นตัวกำกับของเสียงสูงต่ำ ประโยคในรูปแบบต่างกัน จะใช้เสียงสูงต่ำแตกต่างกัน เช่นประโยคแสดงความตกใจ ประโยคคำถาม ประโยคสนทนา การขึ้นเสียงสูง และลงเสียงต่ำยังคงสามารถบอกได้ถึงความหมายของประโยค ตัวอย่างเช่น
When do you want to be paid? (คุณต้องการชำระเงินเมื่อไร)
การเน้นเสียง
การเน้นเสียงในคำ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในลักษณะ ภาษา stress-timed ซึ่งจะมีการเน้นเสียงที่คำคำหนึ่งโดยการเน้นให้เสียงดังขึ้นหรือเสียงสูงขึ้น ในดิกชันนารี จะนิยมเขียนเครื่องหมายอะพอสทรอฟี ( ˈ ) ไว้ด้านหน้า (เช่น IPA หรือ พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด) หรือเขียนไว้ด้านหลัง (พจนานุกรมเว็บสเตอร์) โดยทั่วไป คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มี 2 พยางค์ สามารถกล่าวได้ว่า ถ้าเน้นเสียงที่พยางค์แรก คำนั้นส่วนใหญ่จะเป็น คำนาม หรือ คำคุณศัพท์ และถ้าเน้นเสียงที่พยางค์ที่ 2 คำนั้นส่วนใหญ่จะเป็น คำกริยา
การเน้นเสียงในประโยค
การเน้นเสียงในประโยคใช้ในการบอกความสำคัญของประโยค โดยประโยคทั่วไปจะเน้นเสียงที่คำหลักที่มีความหมายเฉพาะ โดยจะไม่เน้นเสียงที่ คำสรรพนาม และกริยาช่วย โดยประโยคทั่วไป
That | was | the | best | thing | you | could | have | done!
จะเห็นได้ว่ามีการเน้นเสียงที่คำว่า "best" และ "done" โดยคำอื่นที่เหลือจะไม่มีการเน้นเสียง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้องการเน้นที่คำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ การเน้นเสียงจะเปลี่ยนไป เช่น
John hadn't stolen that money. (จอห์นไม่ได้ขโมยเงินไป)
จะเน้นเสียงได้หลายแบบ เพื่อแสดงหลายความหมายโดยนัยของประโยค เช่น
John hadn't stolen that money. (... คนอื่นเป็นคนขโมย)
John hadn't stolen that money. (... คุณบอกว่าเขาทำ แต่เขาไม่ได้ทำ
คำศัพท์
คำศัพท์ส่วนมากในภาษาอังกฤษจะมีรากศัพท์จากภาษาเจอร์เมนิกและภาษาละติน โดยคำจากเจอร์เมนิกจะเป็นศัพท์ที่สั้นและเป็นศัพท์ในชีวิตประจำวัน และคำศัพท์อังกฤษที่รากศัพท์มาจากละติน จะถือว่าเป็นคำศัพท์ของคนชั้นสูงและมีการศึกษาในสมัยก่อน ในปัจจุบันผู้ใช้ภาษาอังกฤษสามารถเลือกใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันเช่น "come" (เจอร์เมนิก) "arrive" (ละติน) ; freedom (เจอร์เมนิก) "liberty" (ละติน) ; oversee (เยอร์มานิก) "supervise" (ละติน) "survey" (ฝรั่งเศสที่มาจากละติน)
นอกจากนี้ในชื่อสัตว์และเนื้อสัตว์จะใช้ศัพท์แยกจากกัน โดยตัวสัตว์จะใช้ศัพท์จากเจอร์เมนิกเป็นคำศัพท์จากชนชั้นล่างในอังกฤษ ขณะที่เนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารใช้ศัพท์จากภาษาฝรั่งเศสที่มีรากศัพท์ละตินซึ่งเกิดจากคำศัพท์ผู้บริโภคชั้นสูง เช่น "cow" และ "beef"; "pig" และ "pork"
ในปัจจุบันได้มีคำศัพท์ใหม่จากภาษาอื่นเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษ หลายภาษารวมถึงฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน ญี่ปุ่น และภาษาต่างๆ ตัวอย่างคำเช่น creme brulee, cafe, fiance, amigo, karaoke

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น