วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ธุรกิจ

ความหมายและความสำคัญของธุรกิจ
ธุรกิจ (Business
) 
หมายถึงกระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์เป็นระบบและอย่างต่อเนื่องในด้านการผลิตการซื้อขายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสินค้าและบริการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้กำไรหรือผลตอบแทนจากกิจกรรมนั้น  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า กิจกรรมใดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้กำไร (Profit)ถือว่าเป็นธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างร้าน ตลอดจนรัฐวิสาหกิจต่าง ๆการดำเนินของรัฐ เช่น การป้องกันประเทศ การสร้างถนนหนทาง โรงเรียนโรงพยาบาล และอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจเพราะมิได้มีจุดมุ่งหมายด้านกำไรแต่เป็นการให้บริการแก่ประชาชนโดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ความสำคัญของธุรกิจ
1. ธุรกิจช่วยให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง 
2. ธุรกิจทำให้ประชาชนมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น 
3. ธุรกิจทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น 
4. ธุรกิจช่วยแก้ปัญหาทางสังคม 
5. ธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
หน้าที่และความรับผิดชอบของธุรกิจ 
หน้าที่ของธุรกิจ 
1. การผลิตสินค้า ธุรกิจอาจเลือกผลิตสินค้าหลายชนิด เช่น ผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป 
2. การให้บริการ เป็นธุรกิจที่อำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภค 
3. การจำแนกแจกจ่ายสินค้า ธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขาย 
4. การจัดซื้อ ธุรกิจจำเป็นต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อการดำเนินการ 
5. การเก็บรักษาสินค้า ธุรกิจจะต้องเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพื่อบริการให้แก่ลูกค้า 
6. การจัดจำหน่าย ธุรกิจมีหน้าที่จัดแสดงสินค้าเพื่อง่ายต่อการซื้อ 
7. การจัดการทางการเงิน ธุรกิจมีหน้าที่จัดหาเงินทุนและบริหารเงินทุนที่มีจำนวนจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
8. การจัดทำบัญชี ธุรกิจมีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อเสียภาษี 
9. การทำการโฆษณาสินค้า ธุรกิจมีหน้าที่โฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้า และเกิดการตัดสินใจซื้อในที่สุด
ความรับผิดชอบของธุรกิจ 
ธุรกิจมีฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อบุคคล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 
1. ความรับผิดชอบต่อเจ้าของกิจการ ดำเนินธุรกิจให้เกิดกำไรสูงสุด 
2. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า การให้บริการลูกค้าให้ดีที่สุด 
3. ความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐ 
4. ความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง ในด้านสวัสดิการของลูกจ้าง 
5. ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้สังคมได้รับประโยชน์ตามสมควร
จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจ 
จุดมุ่งหมายของการดำเนินธุรกิจคือ ต้องการให้ได้กำไรมากที่สุด (Maximized Profit) ซึ่งต่างจากการดำเนินงานของหน่วยราชการและองค์การกุศลซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการให้บริการแก่ประชาชน โดยไม่หวังผลตอบแทน
ความหมายการประกอบธุรกิจและรูปแบบขององค์กรธุรกิจ
ความหมายของการประกอบธุรกิจ 
การประกอบธุรกิจ(Business Activities) หมายรวมถึงกระบวนการประกอบการผลิตกระบวนการประกอบการจำหน่ายกระบวนการประกอบการบริหาร เพื่อให้ได้ถึงมือผู้บริโภค
รูปแบบขององค์กรธุรกิจ 
รูปแบบขององค์กรธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในวงการธุรกิจของประเทศไทย จำแนกรูปแบบไดังต่อไปนี้ 
1. กิจการเจ้าของคนเดียว 
2. ห้างหุ้นส่วน แยกออกเป็น 
2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ 
2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. บริษัทจำกัด
4. การสหกรณ์ แบ่งเป็น 6 ประเภท 
4.1 สหกรณ์การเกษตร 
4.2 สหกรณ์ประมง 
4.3 สหกรณ์นิคม 
4.4 สหกรณ์ร้านค้า 
4.5 สหกรณ์ออมทรัพย์ 
4.6 สหกรณ์บริการ
5. รัฐวิสาหกิจ
http://www.raidaidd.com/forums/viewthread.php?tid=423

คุณลักษณะของนักธุรกิจหรือบุคลิกภาพของนักธุรกิจ หมายถึง ลักษณะท่าทาง หน้าตา การแต่งกาย การวางตัว ความเฉลียวฉลาดและไหวพริบในการดำเนินกิจการของนักธุรกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดความศรัทธาและน่าเชื่อถือแก่ผู้ที่พบเห็นหรือผู้ที่ติดต่อค้าขายด้วย โดยนักธุรกิจที่จะสามารถประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการได้นั้นควรมีคุณลักษณะต่อไปนี้คือ
  1. มีการแต่งกายที่สุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับเวลาและโอกาส
  2. มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
  3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจอย่างมีเหตุผล โดยไม่หวั่นกลัวต่อการประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการ
  4. เป็นผู้มีไหวพริบดี สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้โดยมีความเสียหายน้อยที่สุด และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา
  5. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี เพื่ออำนวยประโยชน์ในด้านการสื่อสารและติดต่อค้าขาย
  6. เป็นผู้มองการณ์ไกล หมั่นศึกษาและหาประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติมอยู่เสมอ
  7. มีความอดทน มุมานะในการทำงาน และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้
  8. มีความซื่อสัตย์ในการให้บริการ หรือผลิตสินค้าให้อยู่ในมาตรฐานที่ตั้งไว้ ไม่ปลอมแปลง ปลอมปน หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไม่มดีในการผลิตสินค้าหรือให้บริการเพื่อหวังผลประโยชน์
  9. มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า คู่ค้า พนักงานในองค์กร และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีความเมตตากรุณา การต้อนรับยินดี และรู้จักการเสียสละ โดยมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
              1. มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการใช้สินค้าหรือบริการของลูกค้าและคู่ค้า ยินดีที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเห็นแก่ความถูกต้องยุติธรรมเป็นสำคัญ
               2. ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กฎหมายแรงงาน และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด โดยลดการเอารัดเอาเปรียบคนงานและผู้บริโภค จ่ายค่าแรงงานและสวัสดิการในการบริโภคตามที่กฎหมายกำหนด
               3. สร้างงานที่มีการจ้างแรงงานสูง เช่น งานก่อสร้าง งานการเกษตร และงานให้บริการต่าง ๆ แม้ว่างานเหล่านี้ในแง่ธุรกิจอาจให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก แต่ก็เป็นการช่วยสังคมให้มีอัตราการว่างงานน้อยลง
               4. กำหนดราคาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสม ไม่ควรกำหนดราคาสูงไปเพื่อหวังผลกำไรหรือไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่เกิดเภทภัยต่าง ๆ
                5. ป้องกันมลภาวะเป็นพิษทางด้านน้ำ อากาศและเสียงจากธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมีระบบการกำจัดหรือควบคุมให้ถูกต้องและเหมาะสม
              6. ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษา ทั้งสถาบันของรัฐและเอกชนตามสมควรซึ่งทำได้โดยให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ฝึกงานแก่นักเรียนนักศึกษา หรือเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิไปบรรยายให้นักศึกษาฟังในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
              7. ให้ความร่วมมือในด้านสุขภาพอนามัย ทั้งของพนักงานในสังกัดและบุคคลทั่วไปตามโอกาสอันสมควร ตลอดจนสนับสนุนด้านสันทนาการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือชาวบ้าน กิจกรรมการกุศล เป็นต้น
 อุดมการณ์ซึ่งนักธุรกิจพึงมี ได้แก่
            1. หมั่นประกอบการดี และประพฤติตนเป็นคนดี
            2. มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับประโยชน์ของคนทั่วไป
            3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
           4. ดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและยึดถือปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
    5. ละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แต่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ โดยคำนึงถึงข้อปฏิบัติของการจัดการที่ดี
      6. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติต่อบุคคลอื่น ต้องตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเสมอภาคของกลุ่มและบุคคล

จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจ
 
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้เกิดกิจกรรมร่วมกันของคนในสังคม โดยมีนักธุรกิจเป็นกลไกในการเชื่อมโยง ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีและศรัทธาในวิชาชีพของตน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนร่วมอาชีพ อันส่งผลให้เกิดการยอมรับจากคนทั่วไปในสังคม และสามารถทำให้ธุรกิจดำรงอยู่ได้และเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งจรรยาบรรณของธุรกิจคือ หลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบธุรกิจยึดเป็นแนวทางการประพฤติในการดำเนินอาชีพ โดยกำหนดตามบทบาทหลักดังนี้
               1.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อลูกค้า
               2.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อผลิตภัณฑ์
               3.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อคู่แข่งขัน
               4.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อส่วนราชการ
               5.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อพนักงาน
               6.  จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อสังคม
               7.  จรรยาบรรณของพนักงานต่อผู้ประกอบธุรกิจ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น