วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ


เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการของประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่งของภาคเอกชน, รัฐบาล ทวิภาคี: การประชุมของ 2 ประเทศ และ พหุภาคี: การประชุมของกลุ่มประเทศและได้นโยบาย จึงดำเนินการติดต่อค้าขายกับประเทศคู่ค้า
สาเหตุของการเกิดการค้าระหว่างประเทศ
1.ความแตกต่างทางด้านทรัพยากร เช่น น้ำมัน 2.ความแตกต่างทางด้านสภาพภูมิประเทศและอากาศ(ข้อ 1-2 สัมพันธ์กัน) 3.ความแตกต่างในด้านความชำนาญในการผลิตสินค้าและบริการ
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
1.ได้สินค้าที่มีคุณภาพและมีราคาถูกกว่าต้นทุนที่จะผลิตในประเทศ 2.ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ 3.ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาได้เรียนรู้รูปแบบใหม่ๆของสินค้า 4.ทำให้ผู้ผลิตสินค้าเกิดความชำนาญในการผลิตสินค้าชนิดนั้น
นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
แบ่งได้ 2 แบบ 1.นโยบายการค้าแบบเสรี มีลักษณะดังนี้
  -ต้องไม่เก็บภาษีนำเข้าหรือเก็บน้อย
  -ต้องไม่มีการให้สิทธิพิเศษ
  -ต้องดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงาน
   (การแบ่งงาน คือ ต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงและมีกำลังผลิตทอ)
2.นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน
  -มีการตั้งกำแพงสินค้า
  -มีการเก็บภาษีเข้าสูงกว่าปกติ
  -มีการกำหนดอัตราการนำเข้าสินค้าเพื่อไม่ขาดดุลการค้าเงินจะได้ไม่ออกนอกประเทศเยอะ
  -ส่งเสริมการส่งออก
ดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
ดุลการค้าเปรียบเทียบมูลค่า ส่งออก และ นำเข้า มี 3 ลักษณะ
 1.เกินดุลการค้า คือ ส่งออกมากกว่านำเข้า
2.ขาดดุลการค้า คือ นำเข้ามากกว่าส่งออก หรือ รายจ่ายมากกว่ารายรับ
3.การค้าสมดุล คือ ส่งออก เท่ากับ นำเข้า
ดุลการชำระเงิน คือ รายการที่แสดงรายรับรายจ่ายเงินตราต่างประเทศจากการค้าและบริการ มี 3 ลักษณะ
1.ดุลการชำระสมดุล คือ รายจ่ายเท่ากับรายรับ
2.ดุลการชำระขาดดุล คือ รายจ่ายมากกว่ารายรับ
3.ดุลการชำระเกินดุล คือ ราบรับมากกว่ารายจ่าย

องค์ประกอบของดุลการชำระเงิน
1.สินค้า + ส่งออก = ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัด (เงินที่เข้าออกประเทศด้านการท่องเที่ยวและบริการ)
 2.การท่องเที่ยว การบริการ เงินบริจาค เงินโอน เป็นดุลบริการ
 3.เงินลงทุน หลักทรัพย์ เงินกู้ยืม เรียกว่า บัญชีเงินทุน/บัญชีโยกย้าย
 ระบบการค้าระหว่างประเทศ
ขึ้นอยู่กับ 1.ปริมาณสินค้าเข้า <Volume of trade>
2.สินค้าเข้า สินค้าออก <Import export>
3.ดุลการค้า<Balance of trade>
4.ดุลการค้าได้เปรียบ <Favorite balance of trade>
5.ดุลการค้าเสียเปรียบ<Favorite balance of trade>
6.ดุลการชำระเงิน บัญชีเดินสะพัด<Balance of payment >
7.ดุลการชำระเงินเสียเปรียบ<Balance of payment deficit>
8.กฎเกณฑ์โควตาสิทธิพิเศษ <Quotas>
9.การตั้งบริษัทการค้า ตั้งในประเทศที่จะทำการค้าด้วย<Cartels>

การแก้ไขดุลการชำระเงิน
1.พยายามลดการสั่งสินค้าเข้า โดยใช่มาตรการต่างๆ
2.พยายามส่งสินค้าออกให้มาก
3.ลดรายจ่ายภาครัฐ
4.ส่งเสริมให้มีการลงทุนของต่างชาติ
5.ส่งเสริมการท่องเที่ยว
6.กู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาแก้ปัญหาการเงิน

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น