วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

จากการตลาดสมัยเก่า.. สู่การตลาดสมัยใหม่

จริงๆ แล้ว การตลาดในยุคที่การแข่งขันค่อนข้างจะถึงจุดอิ่มตัว หลายฝ่ายหันมากระตุ้นในการสร้างกำไรหรือคุณค่าให้เกิดในระยะสั้นมากกว่า ระยะยาว ดังนั้น หลักการตลาดที่ใช้คือ หลัก 4Ps ได้แก่
1.             งบประมาณ / เงินทุน /ราคา (Price)
2.             สถานที่ (Place)
3.             ผลิตภัณฑ์ (Product)
4.             การประชาสัมพันธ์ (Promotion)
              ในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณ หรือการหารายได้เพื่อเป็นทุนดำเนินการ หรือแม้กระทั่งจัดหาสถานที่เพื่อรองรับการขยายตัวนั้น เป็นเรื่องที่ต้องกระทำอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น ในเรื่องการใช้ระยะเวลาสั้น ที่เน้นหนักนั่นคือ ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ และในเรื่องของผลิตภัณฑ์หรือผลผลิต  เช่น
      ผลผลิต ในสถาบันการศึกษา ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา เอกสาร สิ่งตีพิมพ์ โครงการ โครงงาน นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย ฯลฯ
      ผลผลิต ในระดับหน่วยงาน ได้แก่ โครงการ/กิจกรรม งานวิจัย เอกสาร สิ่งตีพิมพ์ บทความ วารสารวิชาการ จดหมายข่าว ฯลฯ
      ผลผลิต ในระดับงาน ได้แก่ ความสำเร็จของงานแต่ละงาน
      ผลผลิต ในระดับบุคคล ได้แก่ สมรรถนะ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนางาน ฯลฯ
      เรื่องการขายและการตลาดอีกประการที่สำคัญ คือ การประชาสัมพันธ์นั่นเอง...
               การประชาสัมพันธ์นั้น เราได้ทำทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งผู้รับผิดชอบการประชาสัมพันธ์ ควรมีความเข้าใจในเรื่องที่จะประชาสัมพันธ์เป็นอย่างดี สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เรื่องนี้ควรจะประชาสัมพันธ์ในระดับใด กับกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มบุคคลใดบ้าง เช่น
1.             โครงการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรในหน่วยงาน จึงจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์เฉพาะในหน่วยงานเป็นหลัก และถ้าต้องการให้หน่วยงานอื่นเข้าร่วมก็ควรจะประชาสัมพันธ์เป็นหนังสือ เวียนไปตามหน่วยงานที่สนใจส่งบุคคลมาเข้าร่วมโครงการ
2.             โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มเป้าหมายจะกว้างคือ บุคลากรสายสนับสนุนในองค์กรทั้งหมด ดังนั้น จึงต้องประชาสัมพันธ์ทั้งระดับหน่วยงานและระดับองค์กรด้วยกัน
3.             โครงการบริการวิชาการเรื่องการพัฒนานักบริหารสถาบันอุดมศึกษาระดับต้น กลุ่มเป้าหมายจะไม่ได้อยู่แต่ภายในมหาวิทยาลัย อาจต้องทำหนังสือแจ้งไปยังแต่ละมหาวิทยาลัย เชิญส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ
               ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ในภาวะที่มีการแข่งขันสูง แต่ละที่ต้องนำเทคนิควิธีการ รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางวิชาการร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันเราเน้นให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก จึงได้เปลี่ยน จาก 4Ps เป็น 4Cs นั่นคือ
1.             C ตัวแรกคือ Convergence การรวมเข้าด้วยกัน
2.             C ตัวที่สองคือ Customer Value คุณค่าสู่ลูกค้าทำอย่างไรให้ลูกค้าพึงพอใจ แต่นับจากนี้ไปจะต้องสร้างคุณค่าสู่ลูกค้า
3.             C ตัวที่สามคือ Channels หมายถึง ช่องทางการจัดจำหน่าย
4.             C ตัวสุดท้าย คือ Communication หรือ Integrated Marketing Communication (IMC) เป็นการ บูรณาการการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร
                เราสามารถนำ4 Cs มาใช้ในการปฏิบัติงาน ดังนี้
               C ตัวแรกคือ Convergence การรวมเข้าด้วยกัน
·         การลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนหรือไม่จำเป็นลง
·         การรวมเรื่องที่เป็นเรื่องเดียวกัน หรือกลุ่มบุคคลชุดเดียวกันเข้าด้วยกัน
·         การสร้างเครือข่าย หรือ สร้างทีมงาน
·         Brain Storming การระดมความคิด
    C ตัวที่สองคือ Customer Value คุณค่าสู่ลูกค้า
      คุณค่า คือ สิ่งที่เป็นผลจากประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำงานรวดเร็ว (เกิดประสิทธิภาพ) ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือพัฒนาต่อไปได้ (เกิดประสิทธิผล)
      สิ่งที่จะทำให้ได้มาซึ่งคุณค่า คือ ใจ
1.             เข้าใจ เกิดความเข้าใจทั้งตัวของเราคือ ผู้ให้บริการ - เข้าใจในเขาคือ ผู้รับบริการ
2.             ใส่ใจ เพื่อสร้างความมั่นใจ การจัดองค์กรที่เหมาะสม มีการสื่อสารที่ดีทั้งภายในและภายนอก และนิยามการวัดด้วย KPIs
3.             ไว้ใจ เชื่อใจหรือศรัทธา การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่จะทำให้มุ่งมั่นนำคุณค่าสู่ลูกค้า
4.             พึงพอใจ การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นที่พึงพอใจต่อลูกค้า เช่น ลดช่องว่างที่เกิดปัญหา ความเข้าใจลูกค้าที่ท้าทาย การปรับปรุงคุณค่าสู่ลูกค้าและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง
     C ตัวที่สามคือ Channels หมายถึง ช่องทางการจัดจำหน่าย อะไร คือ ช่องทางที่จะช่วยให้งานของเราสำเร็จลุล่วงไปได้
1.             การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน
2.             การติดตามความล่าช้าในการปฏิบัติงาน
3.             การสร้างข้อตกลงหรือข้อกำหนดร่วมกัน หรือกระบวนการควบคุมภายในเพื่อลดความเสี่ยงต่อความสูญเสียอันเกิดจากความล่าช้า
      C ตัวสุดท้าย คือ Communication หรือ Integrated Marketing Communication (IMC) เป็นการ บูรณาการการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร
1.             ปฏิสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ตัวบุคคล
2.             การประชาสัมพันธ์ ช่องทางการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์
3.             การแบ่งปันทรัพยากรข้อมูลร่วมกัน เช่น การให้ความรู้ความเข้าใจ,การสอน/แนะนำ/ให้คำปรึกษา,KM
               ดังที่จะเห็นแล้วว่างานบริการนั้น มีรูปแบบที่เป็นทั้งแบบทางตรงและแบบทางอ้อม โดยในแบบทางตรงนั้น งานบริการที่เห็นอาจได้แก่ งานบริการที่ใช้แรงกายเป็นหลัก คือ การพูดคุย การสัมผัส เช่นพนักงานขาย พนักงานเสิร์ฟอาหาร พนักงานยกกระเป๋า พนักงานขนสินค้า หรือพนักงานขับรถ ซึ่งใช้ความจำเป็นหลัก อาจมีสมรรถนะอื่นๆ เกี่ยวข้องบ้าง แต่ต้องมี"ใจรัก" หรือจิตสำนึกในการให้บริการนั้น อีกส่วนหนึ่งคือ งานบริการที่ให้ความคิดเป็นหลักคือ สมรรถนะ การตรวจสอบ วิเคราะห์ ทักษะความรู้ ความสามารถ ที่สั่งสมจากประสบการณ์หรือจากความรู้ที่ได้รับ เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายพัฒนาบุคลากร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ธุรการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิจัย ครู อาจารย์ ซึ่งในงานบริการนี้ต้องมีใจรักในงานบริการเช่นกัน ดังนั้น ในบริบทนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสินค้า การขาย และการตลาดพอสังเขป

http://portal.in.th/learninghome/pages/12401/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น