วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการบริหารเงิน

1. ความสำคัญของการบริหารเงิน

     1.1 เงินมีจำกัด เงินในกระเป๋าของท่านล้วงออกมาก็จะพบว่าเงินค่อนข้างจำกัด หลายท่านอาจจะมีบัตร เครดิต แต่ก็ถูกจำกัดวงเงิน

     1.2 ความต้องการใช้เงินมาก เรามีความต้องการใช้เงินตลอดเวลา ไม่เฉพาะกับธุรกิจ แม้กระทั่งส่วนตัวของท่านก็มีการใช้เงินตลอดเวลา

     1.3 การลงทุนมีหลายประเภท และแต่ละประเภทมีระยะเวลาการให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน การลงทุนโดยการซื้อของมาขาย ให้ผลตอบแทนเร็ว ขณะที่การลงทุนปลูกสร้างอาคารให้ผลตอบแทนช้า

     1.4 เงินมีต้นทุน เรามีเงินอยู่ในกระเป๋า 100 บาท ไม่ได้หมายความว่า 100 บาท ใช้ทำอะไรก็ได้ แต่ในแง่ของผู้ประกอบการ เราต้องใช้เงิน 100 บาทอย่างฉลาดที่สุดโดยคำนึงถึงต้นทุนของเงิน ซึ่งต้นทุนของเงินก็มีอยู่ 2 ประเภท คือ

       1.4.1 ต้นทุนการเสียโอกาสของการใช้เงินที่เรามีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สิ่งเหล่านี้สำคัญ เงินก้อนหนึ่ง ถ้าเราเลือกใช้ไปแล้ว อาจไม่ได้ผล ประโยชน์ตอบแทนเลย แต่ถ้าเราเลือกใช้ไปในอีกทางหนึ่งกลับให้ผลตอบแทนมากมาย การเลือกที่จะลงทุนในอีกประเภทหนึ่ง โดยที่ไม่มีการลงทุนในอีกประเภทหนึ่ง ถือว่ามีการเสียโอกาสเกิดขึ้น ท่านผู้ประกอบการจะต้องชั่งน้ำหนักการใช้จ่ายเงินในแต่ละทางเลือกให้ ชัดเจน ในกรณีที่เป็นเงินของเราเอง

       1.4.2 ต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งต้องใช้จ่ายให้แก่สถาบันการเงินของเราเอง

     1.5 ป้องกันปัญหาเงินขาดแคลน การขาดแคลนเงินเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้

       1.5.1 ยอดขายไม่เป็นไปตามที่เราวางเป้าหมายเอาไว้

       1.5.2 ต้นทุนประกอบการ ต้นทุนสินค้า ควบคุมไม่ได้ ต้นทุนสูง ขายไปแล้วมีแต่ขาดทุน

       1.5.3 ขายสินค้าไปแล้วเก็บเงินไม่ได้ แต่ถ้าเราขายเชื่อ ขายให้กับลูกหนี้ที่ยิ่งยาว ยิ่งมีความเสี่ยง เพราะโอกาสที่จะเก็บเงินมาได้นั้น แตกต่างกัน เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ความสามารถในการจ่ายเงินของลูกหนี้ด้วย

       1.5.4 การซื้อสินค้ามากจนทำให้เกินสต๊อกมากเกินไป ธุรกิจ โรงพิมพ์เห็นได้ชัดเวลาที่เราจะพิมพ์การ์ด จะสังเกตเห็นเราต้องซื้อการ์ดสำเร็จ ที่เป็นรูป กระดาษมาสต๊อกไว้เสมอ เพราะเราต้องการให้ลูกค้าเข้ามาเห็นการ์ดของจริง ไม่ได้มองว่าให้ลูกค้ามาดูแคตตาล็อก แล้วเราไปซื้อมาพิมพ์ให้ลูกค้า เพราะฉะนั้น เราก็จำเป็นต้องเดาสุ่มว่าสินค้าตัวไหน กระดาษตัวไหน สวยพอที่ลูกค้าจะสั่งพิมพ์ แล้วถ้าเกิดปัญหา บางอย่างซื้อมาเป็นปี ๆ หนึ่ง พิมพ์ไม่กี่ครั้งแค่นั้นเอง การมีสินค้าสต๊อกมากเกินไปเกิดจากอะไร เกิดจากเราไม่รู้ว่าจะขายอย่างไรให้กับลูกค้าบ้าง เราก็ต้องสต๊อก มีเงินเท่าไหร่ ก็ถมให้กับสต๊อกหมดเลย ยิ่งสต๊อกมากเท่าไหร่ เงินก็ยิ่งขาดมากเท่านั้น

       1.5.5 การใช้เงินผิดประเภท ใช้เงินลงทุนไปในโครงการที่เราคิดว่าจะได้เงินกลับเข้ามาเร็ว แต่ในทางปฏิบัติหรือความเป็นจริงลงทุนไปแล้ว มันไม่กลับเข้ามา หรือได้เงินกลับมาช้า
2. แนวทางการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

   การบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องรู้ 3 ข้อ

   2.1 ต้องมีการวางแผน แล้วพยากรณ์การใช้เงินก่อน ในรอบปี หรือรอบไตรมาส อีก 3 เดือน เราจะต้องมีค่าใช้จ่ายเงิน อย่างไรบ้าง แล้วเราจะมีการได้เงินมาอย่างไรบ้าง ก็คือจะขายได้เท่าไหร่ หรือจัดการในสต๊อกคงค้าง หรือลูกหนี้คงค้างอย่างไร เพราะฉะนั้นการพยากรณ์การใช้เงิน จำเป็นมาก ๆ เลย ที่จำเป็นต้องพยากรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ คือต้องพยากรณ์สมเหตุสมผลควบคู่ไปกับการทำงบประมาณ

   2.2 ต้องมีการจัดหาเงิน เงินมีอยู่ 2 แหล่งเท่านั้นเองในโลกนี้ คือเงินกู้ จากสถาบันการเงินอะไรต่าง ๆ กับเงินของตัวเราเอง หรือเงินของเพื่อน ในแง่ของการร่วมลงทุน เมื่อเรามีการวางแผนแล้ว เราต้องมีการนำเสนอแผนงานการลงทุนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอย่างนั้นแล้ว คนที่จะมาเป็นแหล่งเงินของเรา เขาไม่มาหรอก ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร สถาบันการเงิน หรือแม้กระทั่งหุ้นส่วนของเรา

   2.3 ต้องมีการใช้เงินได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ผู้ประกอบการหลายท่าน วางแผนไว้แล้ว แต่เวลาการใช้เงินไม่เป็นไปตามแผนการ ใช้ตามใจเช่นวันดีคืนดีเห็นรถออกใหม่ อยากได้ท่านก็จะเอาเงินของกิจการไปซื้อ เหล่านี้ไม่ถูกต้อง การใช้เงินแบบผิดวัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรมากมายประเมินค่าไม่ได้มานักต่อนักแล้ว เพราะฉะนั้นการใช้เงินให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ตัวนี้สำคัญมากกว่าการพยากรณ์ และการจัดหาเงินทุนเสียอีก

3. เทคนิคการบริหารเงิน

   3.1 ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้จ่ายเป็นแบบผันแปร
   การบริหารกิจการของท่านควรพิจารณาการบริหารงานให้มีโครงสร้างต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเป็นโครงสร้างผันแปรมากกว่าโครงสร้างคงที่ ค่าเช่าก็ดี ค่าจ้างพนักงานแบบคงที่ ก็คือพนักงานขายของท่านจ้างมาเดือนละ 1 หมื่น แต่เขาขายของไม่ได้สักชิ้นก็ต้องจ่าย 1 หมื่นอันนี้เรียกว่าคงที่ การหมุนมาเป็นค่าใช้จ่ายแบบผันแปร ก็คือท่านต้องจ่ายเขาแค่ 5 พันบาท เดิมจ่ายให้กิน 3 มื้อสบาย ๆ ได้เที่ยวด้วย เหลือแค่สักมื้ออีกสองมื้อต้องทำงานแลกกัน เพราะฉะนั้นยิ่งขายมากก็ได้มาก ยิ่งขายน้อยก็ได้น้อย เพราะฉะนั้นเขาก็เปลี่ยนจากลูกจ้างมาเป็นหุ้นส่วนของท่านโดยปริยาย ไม่จำเป็นต้องให้หุ้น ไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรแต่อย่างใดเลย การบริหารให้มีต้นทุนแบบผันแปรก็เหมือนกับ ได้พนักงานเป็นหุ้นส่วนแล้ว ข้อสำคัญก็คือวางแผนตอบแทนเขา วางอย่างยุติธรรม ข้อประการสำคัญของผู้ประกอบกิจการหรือเถ้าแก่บางคน พอผันแปรไปแล้ว ธุรกิจมันเด้ง มากไปหน่อย ชักเสียดาย ชักติดเบรกแล้ว อย่าไปทำลาย โครงสร้างแบบนี้สำคัญ เขาคือพาร์ทเนอร์ของท่านโดยที่ไม่ต้องเสียหุ้นเลยแม้แต่หุ้นเดียว ให้ท่านบริหารแบบโครงสร้าง ผันแปร มากกว่าโครงสร้างคงที่

   3.2 ควบคุมงบประมาณ
   มีการวางแผนและควบคุมประเมิน วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้แผนการเงินไม่บรรลุและสร้างความรับผิดชอบร่วมกันของพนักงาน

   3.3 ลดการสูญเสียและความเสียหายของสินค้าโดยการควบคุมประสิทธิภาพการผลิด

   3.4 อย่าลงทุนผิดประเภท เพราะว่าการลงทุนผิดประเภทไม่การันตีถึงความสำเร็จเลย ถ้าเป็นไปได้ลดการลงทุนสินทรัพย์ลง เช่น รถปิคอัพ 1 คัน ใช้ไม่เคยเต็มที่เลย ขายทิ้งไปแล้วใช้รถร่วมกับชาวบ้าน จ่ายแพงนิดหนึ่งแต่ให้อยู่ในรูปของต้นทุนผันแปรดีกว่า

http://www.nanosoft.co.th/maktip33.htm

กลยุทธ์ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์การนั้น มีกลยุทธ์ที่สามารถพิจารณาเลือกนำมาใช้ได้หลายประการ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละองค์การและในแต่ละช่วงเวลา โดยกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์การนั้น อาจแบ่งออกได้ตามขอบเขตของการมีส่วนร่วมของบุคลากรระดับต่าง ๆ ในองค์การได้ดังนี้

          1. กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนองค์การโดยการบัญชาการ (commander approach)
          การปรับเปลี่ยนองค์การด้วยวิธีนี้เป็นการที่ผู้บริหารคิดริเริ่ม และใช้อำนาจบัญชาการการปรับเปลี่ยนในส่วนต่าง ๆ ขององค์การ โดยผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่เพียงปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น วิธีนี้เป็นวิธีที่อาจทำให้มีการต่อต้าน การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ และการที่ผู้บริหารคิดคนเดียว บัญชาการคนเดียวก็เสี่ยงต่อความผิดพลาดจากการขาดข้อมูลข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตามในสถานการณ์วิกฤติ ที่องค์การมีความสับสนวุ่นวาย หรือในภาวะฉุกเฉิน อาจหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงแบบบัญชาการได้ยาก นอกจากนี้ในสถานการณ์ที่ทุกอย่างสงบเรียบร้อย ราบรื่นอย่างมาก และสมาชิกทุกคนในองค์การยอมรับและพร้อมจะปฏิบัติตามผู้บริหาร กลยุทธ์การบัญชาการ จะเป็นวิธีการปรับเปลี่ยนองค์การที่รวดเร็วที่สุด

          2. กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนองค์การโดยการให้มีส่วนร่วมในวงจำกัด (consultative approach)
          การปรับเปลี่ยนองค์การด้วยวิธีนี้ใช้การเปิดโอกาสให้บุคลากรที่มีความสำคัญ จะเป็นโดยตำแหน่งหน้าที่ หรือโดยการยอมรับอย่างไม่เป็นทางการก็ดี ให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดวางแผน และร่วมเป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยนองค์การ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อปรับเปลี่ยนองค์การ ซึ่งวิธีนี้อาจจะบรรเทากระแสการต่อต้านได้บ้าง และช่วยให้สามารถระดมความคิด ความร่วมมือได้จากหลายฝ่ายในองค์การ แต่วิธีนี้จะใช้เวลาค่อนข้างมาก และการที่มีหลายคนเข้ามามีส่วนร่วมนั้น อาจทำให้ความพยายามในการปรับเปลี่ยนองค์การเบี่ยงเบนจากเป้าหมายเดิมได้

          3. กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนองค์การโดยการกระจายอำนาจ (decentralized approach)
          วิธีนี้ใช้การเปิดกว้างโดยให้โอกาสทุก ๆ คนในองค์การ สามารถมีส่วนริเริ่มและดำเนินการเปลี่ยนแปลงองค์การทั้งในส่วนที่ตนรับผิดชอบ และในส่วนที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของตน ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงองค์การในลักษณะนี้ได้แก่ การใช้การบริหารคุณภาพทั่งทั้งองค์การ (Total Quality Management) หรือการให้มีการจัดระบบงานกันเองในทีม (Autonomous Work Team) ฯลฯ กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงองค์การในจุดต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งเป็นการทำให้องค์การเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเป็นไปเพียงในวงจำกัดเฉพาะกลุ่ม เฉพาะแผนก หรือฝ่ายงาน โดยเฉพาะหากองค์การนั้นไม่มีระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์ภายในที่ดีพอ และที่สำคัญก็คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้ และเมื่อผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมประสบสร้างสิ่งใดขึ้นมาแล้ว ความรู้สึกหวงแหน เป็นเจ้าของอาจเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เขาคิดริเริ่มขึ้นมาได้

          4. กลยุทธ์แบบผสม (mixed strategy)
          เป็นการนำกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงองค์การหลาย ๆ แบบมาใช้ร่วมกัน เช่น ใช้กลยุทธ์การสั่งการโดยที่ผู้บริหารสูงสุดลงมาเป็นวิทยากรในการบรรยาย เรื่องการปรับกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์การด้วยตัวเอง ประกอบกับการสร้างทีมงานการรื้อปรับระบบงานของสาขาต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์นั้น และเสริมด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มคุณภาพในระดับปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ขององค์การ การเปลี่ยนแปลงองค์การโดยอาศัยกลยุทธ์ประเภทต่าง ๆ ประกอบกันนั้น จะต้องมีกลไกกลางเพื่อประสานและการบริหารการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกัน

          5. กลยุทธ์การพัฒนาองค์การ (Organizational development)
          การบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยการพัฒนาองค์การ เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งสร้างขีดความสามารถให้แก่สมาชิกในองค์การในการมองปัญหา แก้ปัญหา และเรียนรู้ร่วมกัน โดยอาศัยที่ปรึกษาที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ในการสนับสนุนให้ทีมพัฒนาขีดความสามารถในการแก้ปัญหา และเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้ทีมต่าง ๆ ในองค์การมีความพร้อมที่จะจัดการกับสิ่งท้าทายและเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในองค์การ

http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=1426.0

การจัดการความเสี่ยง

การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง (อังกฤษ: risk management) คือ การจัดการความเสี่ยง ทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์(entries analysis) ประเมิน(Enrick assessment) ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับ กิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident )
           นิยามของความเสี่ยง
ความเสี่ยงมีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น ความเสี่ยงคือ
·         โอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย (Chance of Loss)
·         ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ (Possibility of Loss)
·         ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Uncertainty of Event)
·         และ การคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ (Dispersion of Actual Result)
           ศัพท์ทางเทคนิค
·         ภัย (Peril) คือ สาเหตุของความเสียหาย ซึ่งภัยสามารถเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติ เช่น เกิดพายุ สึนามิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ภัยนอกจากจะเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติแล้ว ภัยนั้นยังเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย จลาจล ฆาตกรรม เป็นต้น สำหรับสาเหตุสุดท้ายที่จะเกิดภัยได้นั้นคือภัยที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ เพราะภัยที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจ เป็นอีกสาเหตุที่สำคัญ เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วคนทั้งประเทศ หรือทั้งภูมิภาคจะได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวาง
·         ความเสี่ยง (Risk) คือ ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ความเสี่ยงนั้น ๆ จะมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยในบริษัท
·         สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย (Hazard) คือ สภาพเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น โดยสภาวะต่าง ๆ นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น สภาวะทางด้านกายภาพ (Physical) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย เช่น ชนิดและทำเลที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้าง อาจเอื้อต่อการเกิดเพลิงไหม้ สภาวะทางด้านศีลธรรม (Moral) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากความไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น การฉ้อโกงของพนักงาน และสภาวะด้านจิตสำนึกในการป้องกันความเสี่ยง (Morale) คือ สภาวะที่ไม่ประมาทและเลินเล่อ หรือการไม่เอาใจใส่ในการป้องกันความเสี่ยง เช่น การที่พนักงานปล่อยให้เครื่องจักรทำงานโดยไม่ควบคุม
            องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง
1.           การระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัย
เป็นการระบุชี้ว่าองค์กรมีภัยอะไรบ้างที่มาเผชิญอยู่ และอยู่ในลักษณะใดหรือขอบเขตเป็นอย่างไร นับเป็นขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยง
2.           การประเมินผลกระทบของภัย
เป็นการประเมินผลกระทบของภัยที่จะมีต่อองค์กรซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินความเสี่ยงที่องค์กรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภัยแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
3.           การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย
การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงเป็นมาตรการที่จัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วในการประเมินผลกระทบของภัย มาตรการตอบโต้ที่นิยมใช้เพื่อการรับมือกับภัยแต่ละชนิด อาจจำแนกดังนี้
·         มาตรการขจัดหรือลดความรุนแรงของความอันตรายของภัยที่ต้องประสบ
·         มาตรการที่ป้องกันผู้รับภัยมิให้ต้องประสบภัยโดยตรง เช่น
o    ภัยจากการที่ต้องปีนไปในที่สูงก็มีมาตรการป้องกันโดยต้องติดเข็มขัดนิรภัย กันการพลาดพลั้งตกลงมา
o    ภัยจากไอระเหยหรือสารพิษก็ป้องกันโดยออกมาตรการให้สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น
·         มาตรการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ได้มีการขจัดและลดความรุนแรง โดยออกแบบตัวอาคารให้มีผนังกันไฟ กันเพลิงไหม้รุนลาม
ไปยังบริเวณใกล้เคียง และมีการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ก็จะช่วยลดหรือหยุดความรุนแรงของอุบัติภัยลงได้
·         มาตรการกู้ภัยก็เป็นการลดความสูญเสียโดยตรง ลงได้มาก
·         มาตรการกลับคืนสภาพ ก็เป็นอีกมาตรการในการลดความเสียหายต่อเนื่องจากภัยหรืออุบัติภัยแต่ละครั้งลงได้
           มาตรการรับมือกับภัย 5 มาตรการ (5R)
·         R1 Readiness ความเตรียมพร้อม
องค์กรต้องเตรียมความพร้อมระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีความพร้อมในการจัดทำมาตรการขจัดหรือควบคุมภัยต่างๆเอาไว้ล่วงหน้า
·         R2 Response การตอบสนองอย่างฉับไว
เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นระบบต้องมีสมรรถนะที่ดีพอในการตอบโต้ภัยแต่ละชนิดอย่างได้ผลและทันเวลา
·         R3 Rescue การช่วยเหลือกู้ภัย
เป็นกระบวนการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินขององค์กร ที่ได้ผลและทันเวลา
·         R4 Rehabilitation การกลับเข้าไปทำงาน
เมื่ออุบัติภัยสิ้นสุดลงแล้วต้องกลับเข้าไปที่เดิมให้เร็วที่สุดเพื่อ การซ่อมแซม การเปลี่ยนใหม่ หรือการสร้างขึ้นใหม่ (
Rebuild) เพื่อให้อาคารสถานที่พร้อมที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ อาจรวมไปถึงการประกันภัยด้วย
·         R5 Resumption การกลับคืนสู่สภาวะปกติ
องค์กรสามารถเปิดทำการ หรือ ดำเนินธุรกิจต่อไปตามปกติได้เสมือนว่าไม่มีอุบัติภัยมาก่อน
Response กับ Rescue อาจจะเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกัน โดยขอยกตัวอย่าง กรณีเกิดอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ รวมถึง Fire Alarm คือขั้นตอนของ Response แต่ไฟฉุกเฉินและเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้พนักงานสวม เพื่อหนีออกจากอาคาร เป็นขั้นตอนของ Rescue
 The Committee of Sponsoring Organization (COSO)
·         The Committee of Sponsoring Organization (COSO) เป็นหน่วยงานที่ได้เผยแพร่วิธีการและกรอบแนวคิดของการควบคุมภายในขององค์กร (Internal Control Framework) อย่างเป็นระบบ เมื่อช่วงต้นทศวรรษของ ปี ค.ศ. 1990 จนกระทั่งเป็นที่รู้จักและมีความนิยมอย่างแพร่หลาย หลังจากที่วิธีการและการดำเนินการควบคุมภายใน (Internal Control) นั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลานาน
·         ในการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เป็นเรื่องที่ทุกคนมีความเห็นอย่างตรงกันว่า การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องที่จำเป็นและเราต้องมีวิธีในการจัดการกับความเสี่ยงที่ดี แต่การจัดการความเสี่ยงนั้นก็ประสบกับปัญหาเดียวกับการเริ่มทำการควบคุมภายในในช่วงแรก ๆ เพราะการจัดการความเสี่ยงนั้นยังไม่สามารถที่จะกำหนดคำนิยามได้อย่างชัดเจน
·         องค์กรของการประกันภัย ก็มีการกำหนดคำนิยามของการจัดการความเสี่ยงไว้แบบหนึ่ง แต่องค์กรที่ให้บริการสินเชื่อก็กำหนดคำนิยามและวิธีการของการจัดการความเสี่ยงไว้อีกแบบหนึ่งอย่างแตกต่างกัน จนทำให้หน่วยงานหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร หรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่างก็พยายามที่จะกำหนด คำนิยามและความหมายของการจัดการความเสี่ยง ตลอดจนพยายามคิดถึงโครงสร้างของการจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านั้น
·         หลังการจากพยายามหาข้อสรุปถึงคำนิยาม ความหมาย วิธีการในการจัดการความเสี่ยง และการจัดทำโครงสร้างในการบริหารความเสี่ยงมานาน COSO จึงพยายามที่จะกำหนด และกำหนดคำนิยามและรูปแบบต่าง ๆ ในการจัดการกับความเสี่ยง โดยได้กำหนดออกมาเป็น COSO ERM (COSO Enterprise Risk Management) ซึ่ง COSO ได้กำหนดโครงสร้างและความหมายในการจัดการกับความเสี่ยง และนำเสนอต่อสาธารณะในปลายปี ค.ศ. 2004 โดยให้บริษัทในทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือบริษัท SMEs สามารถนำเอาแนวทางในการบริหารจัดการกับความเสี่ยงไปใช้ได้
·         COSO Internal Control Framework เป็นกระบวนการ ที่ออกแบบให้ กรรมการบริหาร ผู้บริหาร บุคลากรต่าง ๆ ของหน่วยงาน ต้องมีความรับผิดชอบ และพยายามที่จะให้หน่วยงานประสบความสำเร็จ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
·         1. ให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
·         2. มีการรายงานทางการเงินที่น่าเชื่อถือ และ
·         3. การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ
·         COSO Internal Control Framework จะมีลักษณะที่เชื่อมโยงต่อ COSO Enterprise Risk management ดังนั้นการเข้าใจใน COSO Internal Control Framework จึงเป็นการช่วยให้เข้าใจใน COSO ERM มากขึ้นนั่นเอง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87

จากการตลาดสมัยเก่า.. สู่การตลาดสมัยใหม่

จริงๆ แล้ว การตลาดในยุคที่การแข่งขันค่อนข้างจะถึงจุดอิ่มตัว หลายฝ่ายหันมากระตุ้นในการสร้างกำไรหรือคุณค่าให้เกิดในระยะสั้นมากกว่า ระยะยาว ดังนั้น หลักการตลาดที่ใช้คือ หลัก 4Ps ได้แก่
1.             งบประมาณ / เงินทุน /ราคา (Price)
2.             สถานที่ (Place)
3.             ผลิตภัณฑ์ (Product)
4.             การประชาสัมพันธ์ (Promotion)
              ในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณ หรือการหารายได้เพื่อเป็นทุนดำเนินการ หรือแม้กระทั่งจัดหาสถานที่เพื่อรองรับการขยายตัวนั้น เป็นเรื่องที่ต้องกระทำอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้น ในเรื่องการใช้ระยะเวลาสั้น ที่เน้นหนักนั่นคือ ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ และในเรื่องของผลิตภัณฑ์หรือผลผลิต  เช่น
      ผลผลิต ในสถาบันการศึกษา ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา เอกสาร สิ่งตีพิมพ์ โครงการ โครงงาน นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย ฯลฯ
      ผลผลิต ในระดับหน่วยงาน ได้แก่ โครงการ/กิจกรรม งานวิจัย เอกสาร สิ่งตีพิมพ์ บทความ วารสารวิชาการ จดหมายข่าว ฯลฯ
      ผลผลิต ในระดับงาน ได้แก่ ความสำเร็จของงานแต่ละงาน
      ผลผลิต ในระดับบุคคล ได้แก่ สมรรถนะ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนางาน ฯลฯ
      เรื่องการขายและการตลาดอีกประการที่สำคัญ คือ การประชาสัมพันธ์นั่นเอง...
               การประชาสัมพันธ์นั้น เราได้ทำทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งผู้รับผิดชอบการประชาสัมพันธ์ ควรมีความเข้าใจในเรื่องที่จะประชาสัมพันธ์เป็นอย่างดี สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เรื่องนี้ควรจะประชาสัมพันธ์ในระดับใด กับกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มบุคคลใดบ้าง เช่น
1.             โครงการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงาน กลุ่มเป้าหมายคือ บุคลากรในหน่วยงาน จึงจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์เฉพาะในหน่วยงานเป็นหลัก และถ้าต้องการให้หน่วยงานอื่นเข้าร่วมก็ควรจะประชาสัมพันธ์เป็นหนังสือ เวียนไปตามหน่วยงานที่สนใจส่งบุคคลมาเข้าร่วมโครงการ
2.             โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มเป้าหมายจะกว้างคือ บุคลากรสายสนับสนุนในองค์กรทั้งหมด ดังนั้น จึงต้องประชาสัมพันธ์ทั้งระดับหน่วยงานและระดับองค์กรด้วยกัน
3.             โครงการบริการวิชาการเรื่องการพัฒนานักบริหารสถาบันอุดมศึกษาระดับต้น กลุ่มเป้าหมายจะไม่ได้อยู่แต่ภายในมหาวิทยาลัย อาจต้องทำหนังสือแจ้งไปยังแต่ละมหาวิทยาลัย เชิญส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ
               ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ในภาวะที่มีการแข่งขันสูง แต่ละที่ต้องนำเทคนิควิธีการ รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางวิชาการร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันเราเน้นให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก จึงได้เปลี่ยน จาก 4Ps เป็น 4Cs นั่นคือ
1.             C ตัวแรกคือ Convergence การรวมเข้าด้วยกัน
2.             C ตัวที่สองคือ Customer Value คุณค่าสู่ลูกค้าทำอย่างไรให้ลูกค้าพึงพอใจ แต่นับจากนี้ไปจะต้องสร้างคุณค่าสู่ลูกค้า
3.             C ตัวที่สามคือ Channels หมายถึง ช่องทางการจัดจำหน่าย
4.             C ตัวสุดท้าย คือ Communication หรือ Integrated Marketing Communication (IMC) เป็นการ บูรณาการการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร
                เราสามารถนำ4 Cs มาใช้ในการปฏิบัติงาน ดังนี้
               C ตัวแรกคือ Convergence การรวมเข้าด้วยกัน
·         การลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนหรือไม่จำเป็นลง
·         การรวมเรื่องที่เป็นเรื่องเดียวกัน หรือกลุ่มบุคคลชุดเดียวกันเข้าด้วยกัน
·         การสร้างเครือข่าย หรือ สร้างทีมงาน
·         Brain Storming การระดมความคิด
    C ตัวที่สองคือ Customer Value คุณค่าสู่ลูกค้า
      คุณค่า คือ สิ่งที่เป็นผลจากประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำงานรวดเร็ว (เกิดประสิทธิภาพ) ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือพัฒนาต่อไปได้ (เกิดประสิทธิผล)
      สิ่งที่จะทำให้ได้มาซึ่งคุณค่า คือ ใจ
1.             เข้าใจ เกิดความเข้าใจทั้งตัวของเราคือ ผู้ให้บริการ - เข้าใจในเขาคือ ผู้รับบริการ
2.             ใส่ใจ เพื่อสร้างความมั่นใจ การจัดองค์กรที่เหมาะสม มีการสื่อสารที่ดีทั้งภายในและภายนอก และนิยามการวัดด้วย KPIs
3.             ไว้ใจ เชื่อใจหรือศรัทธา การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่จะทำให้มุ่งมั่นนำคุณค่าสู่ลูกค้า
4.             พึงพอใจ การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นที่พึงพอใจต่อลูกค้า เช่น ลดช่องว่างที่เกิดปัญหา ความเข้าใจลูกค้าที่ท้าทาย การปรับปรุงคุณค่าสู่ลูกค้าและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง
     C ตัวที่สามคือ Channels หมายถึง ช่องทางการจัดจำหน่าย อะไร คือ ช่องทางที่จะช่วยให้งานของเราสำเร็จลุล่วงไปได้
1.             การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน
2.             การติดตามความล่าช้าในการปฏิบัติงาน
3.             การสร้างข้อตกลงหรือข้อกำหนดร่วมกัน หรือกระบวนการควบคุมภายในเพื่อลดความเสี่ยงต่อความสูญเสียอันเกิดจากความล่าช้า
      C ตัวสุดท้าย คือ Communication หรือ Integrated Marketing Communication (IMC) เป็นการ บูรณาการการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร
1.             ปฏิสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ตัวบุคคล
2.             การประชาสัมพันธ์ ช่องทางการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์
3.             การแบ่งปันทรัพยากรข้อมูลร่วมกัน เช่น การให้ความรู้ความเข้าใจ,การสอน/แนะนำ/ให้คำปรึกษา,KM
               ดังที่จะเห็นแล้วว่างานบริการนั้น มีรูปแบบที่เป็นทั้งแบบทางตรงและแบบทางอ้อม โดยในแบบทางตรงนั้น งานบริการที่เห็นอาจได้แก่ งานบริการที่ใช้แรงกายเป็นหลัก คือ การพูดคุย การสัมผัส เช่นพนักงานขาย พนักงานเสิร์ฟอาหาร พนักงานยกกระเป๋า พนักงานขนสินค้า หรือพนักงานขับรถ ซึ่งใช้ความจำเป็นหลัก อาจมีสมรรถนะอื่นๆ เกี่ยวข้องบ้าง แต่ต้องมี"ใจรัก" หรือจิตสำนึกในการให้บริการนั้น อีกส่วนหนึ่งคือ งานบริการที่ให้ความคิดเป็นหลักคือ สมรรถนะ การตรวจสอบ วิเคราะห์ ทักษะความรู้ ความสามารถ ที่สั่งสมจากประสบการณ์หรือจากความรู้ที่ได้รับ เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายพัฒนาบุคลากร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ธุรการ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิจัย ครู อาจารย์ ซึ่งในงานบริการนี้ต้องมีใจรักในงานบริการเช่นกัน ดังนั้น ในบริบทนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสินค้า การขาย และการตลาดพอสังเขป

http://portal.in.th/learninghome/pages/12401/

ระบบบริหารคุณภาพ ISO

มาตรฐานคืออะไร

มาตรฐานคือ ข้อตกลงที่จัดทำขึ้นเป็นเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลหรือข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specifications) หรือวิธีการทำงาน ที่ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แล้วร่วมกำหนดเป็นเกณฑ์ข้อบังคับขึ้นมาหรือ นิยาม คำจำกัดความคุณลักษณะเฉพาะ (Definition of Characteristics) ของสิ่งนั้นๆที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ขบวนการ หรือการบริการนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ดังนั้น มาตรฐาน (Standards) ก็คือ ข้อตกลงหรือพันธะร่วมที่ยอมรับระหว่างผู้ผลิตกับผู้รับบริการ หรือ เกิดจากเกณฑ์เฉลี่ยจากสมรรถนะ ของหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงาน หรือ เกิดจากข้อกำหนดด้านวิธีการหรือการทำงาน (Procedures manual หรือ Work Instruction) นั้นเอง
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน(International Organization for Standardization:ISO) เป็นองค์กรอิสระ(Non–governmental Organization) จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1947 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีสมาชิกกว่า 130 ประเทศทั่วโลก มีพันธกิจ (Mission) ในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามาตรฐานงานต่างๆ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และพัฒนาความร่วมมือในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ อย่างครบวงจร
 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) มีชื่อเรียกสั้น ๆว่า ISO เป็นภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า เท่าเทียมกันดังเช่น “ ISOMETRIC” ซึ่งมีความหมายว่าวัดได้เท่ากันหรือขนาดเท่ากันหรือ “ISONOMY”ซึ่งหมายถึงมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมายเป็นต้น ดังนั้นคำว่า“ ISO” จึงไม่ใช่คำที่ย่อมาจากชื่อเต็มขององค์การ
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) ประสพความสำเร็จในการกำหนดมาตรฐาน ต่างๆมากมาย ที่นานาประเทศนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการค้า อุตสาหกรรมและต่อผู้บริโภคเอง เช่น
·         กำหนดรหัสความเร็วของฟิล์มถ่ายรูป (The ISO Film Speed Code)
·         กำหนดมาตรฐานของบัตรโทรศัพท์และบัตรเครดิต (Telephone and Banking Cards)
·         องค์กรธุรกิจกว่า 10,000 องค์กร ได้มีการนำระบบมาตรฐานงานคุณภาพ ISO 9000 เป็นกรอบไปปฏิบัติว่ามีการบริหารจัดการ อย่างมี คุณภาพและประกันคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ได้นำมาตรฐาน ISO 14000 นำไปเป็นกรอบปฏิบัติในเรื่องของการจัดการสภาพแวดล้อมอย่างได้ผล
·         กำหนดตู้ Container (Internationally Standard Freight Container) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมด เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งไม่ว่า จะขนส่ง ด้วยเครื่องบิน เรือเดินทะเล รถไฟ รถยนต์บนทางหลวง หรือในการจัดเก็บ พร้อมทั้งกำหนดเป็นเอกสารมาตรฐาน ชี้บ่งประเภท ของ สินค้าที่จะต้องเฝ้าระวังด้วยทำให้ต้นทุนการค้าขายมีราคาถูกลง มีความรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น
·         กำหนดระบบการวัดมาตรฐาน (Universal System of Measurement) ขึ้นมา 7 หน่วยพื้นฐานซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ระบบ SI Unit ซึ่งถ้า ปราศจากหน่วยมาตรฐานเหล่านี้แล้วงานทางด้านช่างก็จะไร้จุดยึดเหนี่ยวการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีก็จะชะลอตัวลงเสียเปรียบกับด้านอื่นๆที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
·         กำหนดมาตรฐานขนาดกระดาษ (Paper Sizes) เช่น ISO 216 เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ผลิตและลูกค้าในเรื่องของราคา
·         กำหนดมาตรฐานสัญญาลักษณ์ ควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในรถยนต์ (Symbols for Automobile Controls)ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่ว โลก ไม่ว่าจะผลิตจากแหล่งใด
·         กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของลวดสลิง (Safety of Wire Ropes) ที่ใช้ในฐานขุดเจาะน้ำมัน เรือประมง อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ลิฟท์ (Lift) ในอาคารและในรถกระเช้า (Cable Car) เป็นต้น
·         กำหนดรหัสมาตรฐาน สำหรับชื่อประเทศ สกุลเงิน และภาษาที่ใช้ (ISO International Codes for Country Names, Currency and Language)
·         กำหนดเกลียวมาตรฐาน (ISO Metric Screw Threads) สำหรับ Bolts และ Nuts ต่างๆ ที่ใช้อยู่ทั่วโลก
เหตุผลสำคัญที่ทั่วโลกยอมรับ ISO 9000
·         เป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก
·         คุณภาพเป็นสิ่งสำคัญในการแข่งขันของธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต
·         มีความหลากหลายในการนำไปประยุกต์ใช้
·         การยอมรับของประเทศชั้นนำมากกว่า 130 ประเทศ
·         สามารถขึ้นทะเบียนใบรับรองได้ทั่วโลก
ธุรกิจที่ประยุกต์ใช้ ISO 9000 แล้วได้แก่
·         น้ำมัน ปิโตรเลี่ยม ปิโตรเคมี ก๊าซธรรมชาติ
·         ชิ้นส่วนรถยนต์
·         พลาสติก กระดาษ โลหะ
·         อิเลคโทรนิคส์ และไฟฟ้า
·         อาหาร และ Catering
·         เคมี และยาเวชภัณฑ์
·         บริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล การประกันภัย การขนส่ง
·         ก่อสร้าง

http://bgiso.igetweb.com/index.php?mo=3&art=223577

KAIZEN แนวคิดเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการทำงาน ในสัปดาห์นี้เราจะขอนำเสนอทฤษฎีของญี่ปุ่นที่หลาย ๆ อาจจะเคยได้ยินมา และอีกหลาย ๆ คนก็ยังไม่รู้จักนั่นก็คือ KAIZEN ซึ่งในปัจจุบันนี้มีหลายต่อหลายหน่วยงาน ได้นำระบบ KAIZEN มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เราลองมาทำความรู้จักกับ KAIZEN อย่างคร่าว ๆ กันเถอะ
 KAIZEN คืออะไร
KAIZEN แปลตามศัพท์ภาษาญี่ปุ่นว่า "การปรับปรุง" (Improvement) เป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการบริหารการจัดการอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน ร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ หัวใจสำคัญอยู่ที่ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด (Continuous Improvement)
 ทำไมต้องทำ KAIZEN?
KAIZEN เป็นแนวคิดที่จะช่วยรักษามาตรฐานที่มีอยู่เดิม (Maintain) และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น (Improvement) หากขาดซึ่งแนวคิดนี้แล้ว มาตรฐานที่มีอยู่เดิมก็จะค่อย ๆ ลดลง
 ความสำคัญในการบวนการของ KAIZEN คือ การใช้ความรู้ความสามารถของพนักงานมาคิดปรับปรุงงาน โดยใช้การลงทุนเพียงเล็กน้อย ซึ่งก่อให้เกิดการปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อยที่ค่อย ๆ เพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจแบบใด เราก็สามารถใช้วิธีการ KAIZEN เพื่อปรับปรุงได้
เทคนิคเครื่องมือที่นำมาใช้ในการทำ KAIZEN ได้แก่
วงจร PDCA : ซึ่งประกอบไปด้วย การวางแผน (Plan), การปฏิบัติ (Do), การตรวจสอบ (Check),  และการปรับปรุงแก้ไข (Action)
- 5
- Basic Industrial Engineering หรือวิศวกรรมอุตสาหกรรมขึ้นพื้นฐาน
- Problem Solving Method หรือกระบวนการแก้ปัญหา
- Kiken Yochi Training (KYT) หรือการฝึกอบรมเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัย
- Suggestion Scheme หรือ ระบบข้อเสนอแนะ
- Quality Control Circles (QCC) กลุ่มควบคุมคุณภาพ
- Just in Time System (JIT) หรือระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี
- Total Productive Maintenance (TPM) หรือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม
- Total Quality Control (TQM) หรือการบริหารคุณภาพโดยรวม
ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ในหน่วยงานต่าง ๆ ก็ได้หยิบเอาเครื่องมือบางอย่างมาใช้เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องนั่นเอง ในครั้งต่อ ๆ ไป เราจะมาทำความรู้จักกับเครื่องมือบางตัวที่เป็นที่นิยม นำมาใช้ในการทำ KAIZEN กัน